วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 8

ใบงานที่ 8

1.ความหมายของสถิติ
(1) สถิติ หมายถึง การบันทึกตัวเลขเพื่อแสดงให้เห็นข้อเท็จจริงในเชิงเปรียบเทียบ
(2) สถิติ หมายถึง ตัวเลขหรือข้อมูลซึ่งแทนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่เราสนใจ
(3) สถิติ หมายถึง หลักฐานที่รวบรวมเอาไว้เป็นตัวเลขสำหรับเปรียบเทียบ
(4) สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาสรุป
2.ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความหมายว่าอย่างไร และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด
ค่าเฉลี่ย (Mean) หรือเรียกว่าค่ากลางเลขคณิต ค่าเฉลี่ย ค่ามัชฌิมเลขคณิต เป็นต้น ความหมายเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
มัธยฐาน (Median) คือ คะแนนที่อยู่ตรงกลางที่แบ่งคะแนนออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน ทำโดยนำคะแนนที่ได้มาเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปหามาก มักเขียนแทนด้วย Mdn เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ฐานนิยม (Mode) คือ ค่าที่ซ้ำกันมากที่สุดหรือที่มีความถี่มากที่สุด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายที่นิยมใช้กันมากเขียนแทนด้วย S.D. หรือ S เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
3.ประชากรและกลุ่มตัวอย่างมีความหมายต่างกัน กล่าวคือ
ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยทุกหน่วย (ซึ่งอาจมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้) ที่เรา สนใจเช่น จำนวนคนไทยที่เป็นเพศชาย ประชากรคือคนไทยทุกคนที่เป็นเพศชาย จำนวนรถยนต์ในจังหวัดพิษณุโลก ประชากรคือ รถยนต์ทุกคันที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง หน่วยย่อยของประชากรที่เราสนใจ เช่น จำนวนรถยนต์ที่วิ่งในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งไม่สามารถจัดเก็บได้ทัน จึงต้องใช้ตัวอย่างซึ่งตัวอย่างจะต้องเป็น รถยนต์ที่กำลังวิ่งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
4.ข้อมูลระดับนามบัญญัติ (Nominal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่แบ่งเป็นกลุ่มเป็นพวก เช่น เพศ อาชีพ ศาสนา ผิวสี ฯลฯ ไม่สามารถนำมาจัดลำดับ หรือนำมาคำนวณได้
-ข้อมูลระดับอันดับ (Ordinal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ แล้วยังสามารถบอกอันดับที่ของความแตกต่างได้ แต่ไม่สามารถบอกระยะห่างของอันดับที่แน่นนอนได้ หรือไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าอันดับที่จัดนั้นมีความแตกต่างกันของระยะห่างเท่าใด เช่น อันดับที่ของการสอบของนักศึกษา อันดับที่ของผู้เข้าประกวดนางสาวไทย ฯลฯ
-ข้อมูลระดับช่วงชั้น,อันตรภาค (Interval Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีช่วงห่าง หรือระยะห่างเท่าๆ กัน สามารถวัดค่าได้แต่เป็นข้อมูลที่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น อุณหภูมิ คะแนนสอบ GPA คะแนน I.Q. ฯลฯ
-ข้อมูลระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีมาตราวัดหรือระดับการวัดที่สูงที่สุด คือนอกจากสามารถแบ่งกลุ่มได้ จัดอันดับได้ มีช่วงห่างของข้อมูลเท่าๆกันแล้ว ยังเป็นข้อมูลที่มีศูนย์แท้เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ระยะทาง รายได้ จำนวนต่างๆ ฯลฯ
5.ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล หรือก่อให้เกิดการแปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดหรือจัดกระทำได้ เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรนี้
ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวิเคราะห ์เพื่อตอบคำถามของการวิจัยว่าเป็นผลมากจากสิ่งใด
6. สมมุติฐาน หมายถึง ข้อความที่ผู้วิจัยคาดหวังหรือคิดเกี่ยวกับความแตกต่างที่อาจจะเป็นไปได้ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ หรือตอบปัญหาต่าง ๆ โดยอาศัย ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ฯลฯ เป็นการเสนอคำตอบชั่วคราวของปัญหาที่ยังไม่ได้ทำการตรวจสอบ โดยอาศัยข้อมูลจากการไปตรวจสอบเอกสาร หรือเป็นการเดาอย่างมีเหตุผลซึ่งสมมุติฐานนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นจริงเสมอไป
ประเภทของสมมุติฐาน ในวงการวิจัยนั้น สมมุติฐานมีอยู่ 2 ประเภทคือ
1. สมมุติฐานการวิจัย (Research Hypothesis or Descriptive Hypothesis) เป็นข้อความที่เขียนในลักษณะบรรยาย หรือคาดคะเนคำตอบของการวิจัย ซึ่งข้อความดังกล่าวจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องกันของตัวแปรในรูปของความสัมพันธ์ หรือในรูปของความแตกต่างที่ได้คาดคะเนไว้ เช่น การสอนซ่อมเสริมโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าการสอนซ่อมเสริมด้วยวิธีปกติ
2. สมมุติฐานทางสถิติ (Satirical Hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่แปลงรูปจากสมมุติฐานการวิจัยมาอยู่ในรูปแบบทางคณิตศาสตร์ โดยมีการแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้น ในกรณีที่ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและจะอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากร โดยการทดสอบสมมุติฐาน
7. T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้
F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป
T-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป

ใบงานที่ 11

ใบงานที่ 11

ความคิดเห็นเกี่ยวกับครูผู้สอน

ครูผู้สอน อ. อภิชาติ วัชรพันธุ์

1. ด้านความรู้ : มีความรู้ในวิชาที่สอนเป็นอย่างดี

2. ด้านบุคลิกภาพ : สุขุม เป็นกันเอง มีอัธยาศัยดี

3. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน :

- สอนตามขั้นตอนจากง่ายไปหายาก

- ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้

- ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

- ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้

ใบงานที่ 10

ใบงานที่ 10

ประวัติตนเอง

ชื่อ : นายกมล จันสว่าง

ตำแหน่ง : รองผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนวัดสโมสรสันนิบาต อำเภอสิชล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต4

ประวัติการศึกษา :

ชั้นประถมศึกษาปีที่6 โรงเรียนบ้านบ่อกรูด อำเภอท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา อำเภอท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา อำเภอท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

ระดับปริญญาตรี(ค.บ.) วิชาเอกสังคมศึกษา วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช

ระดับปริญญาโท(ศษ.ม) วิชาเอกหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประวัติการทำงาน :

อาจารย์1 ระดับ 3 โรงเรียนบ้านเกาะกระโพธิ์ จ.ศรีสะเกษ

อาจารย์1 ระดับ 3 โรงเรียนบ้านหนองจูด จ.กระบี่

รองผู้ทำนวยการโรงเรียน โรงเรียนบ้านลำทับ จ.กระบี่

รองผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนวัดสโมสรสันนิบาต จ.นครศรีธรรมราช

ผลงานดีเด่น :

- รางวัลบุคลากรต้นแบบปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ รางวัลครูเกียรติยศ สาขาสังคมศึกษา จากสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ ปี 2545

คติในการทำงาน : ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

ใบงานที่ 9

ใบงานที่ 9

ลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ

ด้านครองตน

มีความรู้หลักการบริหาร / เทคนิควิธี / ข่าวสารใหม่ๆทันเหตุการณ์

มีวิสัยทัศน์ ในการทำงาน

มีความอดทน ขยันขันแข็ง เสียสละ และประพฤติตนเป็นแบบอย่าง

กล้าตัดสินใจ

มีความพร้อมด้านครอบครัว

ด้านครองคน

เน้นนักประสานงานที่ดีกับบุคคลทุกฝ่าย

เน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม

ใช้หลักคุณธรรม / จริยธรรมในการครองใจคน

ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการจัดการศึกษา

ด้านครองงาน

การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า งานบรรลุตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

ใบงานที่ 2

ใบงานที่ 2 ข้อมูลหน่วยงาน

หน่วยงาน : โรงเรียนวัดสโมสรสันนิบาต ตำบลเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

แนวคิดการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ :

ครูทุกคนมีความรู้ด้านนวัตกรรมและสารสนเทศ

มีคณะทำงานวางแผนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

โรงเรียนเป็นศูนย์กลางชุมชน ด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ

วิสัยทัศน์ :

เน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน มีคุณธรรม จริยธรรมดีเด่น มีสุขภาพดี และมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

ยุทธศาสตร์ :

นักเรียนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษา

พัฒนาผู้เรียนตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาชาติ

พัฒนาคุณภาพครู สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้

บริบท :

เน้นโรงเรียนประถมศึกษาอยู่ในพื้นที่ชนบท

ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะปานกลาง

ครูส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย

สภาพปัญหา :

-

ใบงานที่ 12

ใบงานที่ 5

สรุปการใช้โปรแกรม spss

โปรแกรม SPSS เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติอีกโปรแกรมหนึ่ง
-การเริ่มต้นสู่โปรแกรม
เมื่อคลิกที่โปรแกรม SPSS จะเข้าสู่โปรแกรมดังรูป ซึ่งหากมีแฟ้มข้อมูลเดิม จะสามารถเลือกจากหน้าต่างนี้ หากต้องการเริ่มต้นใหม่ ให้คลิก Cancel เพื่อเข้าสู่ส่วนตารางทำงาน หรือที่เรียกว่า Data Editor


ข้อกำหนดโปรแกรมทั่วไป
SPSS แบ่งส่วนที่ใช้ป้อนข้อมูลเป็น sheet 2 ส่วน หรืออาจเรียกเป็น Tab ได้แก่
Data View : เป็นส่วนสำหรับใส่ข้อมูล ซึ่งแสดงชื่อตัวแปรเป็น Var ทุกคอลัมน์เมื่อทำการป้อนข้อมูล จะเปลี่ยนเป็น Var00001 Var00002 … หากต้องการกำหนดชื่อตัวแปรเป็นอย่างอื่น ให้เลือกที่ Variable View จาก Sheet Tab ส่วนแถวจะอ้างอิงตั้งแต่ 1, 2, 3 ไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตัวอักษรที่แสดงชื่อตัวแปรหรือแถว มีขนาดเล็กมองไม่สะดวก สามารถเปลี่ยนได้โดยการเลือกเมนู View \ Fonts… เพื่อเลือกชนิดอักษรและขนาดตามต้องการ ( แนะนำให้ใช้ MS San Serif ขนาด 10 point)
Variable View : เป็นส่วนที่กำหนดลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของตัวแปร ได้แก่ ชื่อตัวแปร ( มีได้ไม่เกิน 8 ตัวอักษรรวมตัวเลข โดยห้ามเว้นช่องว่างหรือวรรค และห้ามมีสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น วงเล็บ เครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น ) จำนวนทศนิยมความกว้างของคอลัมน์ Label ( ใช้ระบุรายละเอียดของตัวแปรซึ่งจำกัดเพียง 8 ตัวอักษร แต่ Label สามารถพิมพ์ข้อความได้มากกว่า รวมทั้งมีช่องว่างหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ได้ ) เป็นต้น
การนำข้อมูลเข้าสู่ Work sheet หรือ Data Editor
สำหรับการนำข้อมูลเข้าสู่ Data Editor สามารถทำได้หลายวิธี แต่ 2 วิธีที่นิยม ได้แก่
การเปิดไฟล์จากไฟล์ประเภทอื่น
โดยโปรแกรม SPSS สามารถที่จะเปิดไฟล์ได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์จากโปรแกรม Excel, Lotus, Sysstat หรือ Dbase สามารถเปิดได้โดยใช้เมนู File \ Open \ Data จากนั้นเลือกชนิดของไฟล์ เลือก Drive และ Folder ให้ถูกต้อง

การป้อนข้อมูลโดยตรง
ในการป้อนข้อมูล หากต้องการป้อนข้อมูลเข้าอย่างโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ใน Data Editor สามารถทำการ Copy และ Paste ข้อมูลในลักษณะของ Spread sheet ทั่วไปได้ ทำให้สะดวกต่อการใช้ป้อนข้อมูล
เมนูสำหรับการวิเคราะห์ผลทางสถิติ
ในการวิเคราะห์นั้น จะใช้เมนู Statistics ดังรูป โดยจะมีเมนูย่อยที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติต่าง ๆ เช่น Descriptive Statistics, Compare Mean, General Linear Model, Correlation หรือ Regression เป็นต้น

1 ความคิดเห็น:

ในการศึกษาเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม SPSS

สนใจก็เข้าไปโหลดคู่มือภาษาไทยได้ที่

ี่ http://www.yrh.moph.go.th/KM/spss.htm หรือเข้าไปที่

http://www.watpon.com/spss/ เวปนี้มีหัวข้อสำหรับให้เลือกดาวน์โหลดครับ

ใบงานที่ 4

ใบงานที่ 4

1. การจัดการความรู้ หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
อ้างอิง http://portal.in.th/inno-sayan/pages/1134/

2. ขั้นตอนการจัดการความรู้
1) กำหนดประเด็น หมายถึงการกำหนดว่าจะจัดการความ เรื่องใดหรือเรื่องอะไร
2) ตั้งวัตถุประสงค์ และเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะจัดการความรู้เรื่องนั้นเพื่ออะไร และจะ จัดการให้ได้ผลเพียงใด
3) แสวงหาความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้จากแหล่งต่าง ๆ
4) พิจารณาจัดลำดับความสำคัญ และความจำเป็นของความรู้ที่ต้องการใช้ว่าเรื่องใดต้องการ ก่อนหลัง
5) ผสมผสานความรู้เข้าด้วยกันอย่างมีความเหมาะสมโดยอาศัยกระบวนการคิดเป็น กิจกรรมสำคัญ และลงท้ายด้วยการสรุปและตัดสินใจเพื่อปฏิบัติการให้ได้ผลออกมา
6) ลงมือปฏิบัติการ
7) สังเกตผลจากการปฏิบัติว่าเกิดหรือได้รับสิ่งที่คาดหวังหรือมุ่งหวังหรือไม่ หากได้ผล ตามที่มุ่งหวังก็ดำเนินการทางปฏิบัติต่อไปแต่หากผลไม่ตรงตามที่คาดหวังหรือผิดเพี้ยนไปก็ต้องย้อนกลับไปพิจารณาว่าต้องใช้ความรู้เรื่องใดมาใช้ประกอบเพิ่มขึ้นอีกนำมาพิจารณาแล้วตัดสินใจปฏิบัติการอีก
8) แสดงออกต่อผลลัพธ์ที่ได้นั้นออกมาว่า พอใจ หรือไม่พอใจ
อ้างอิง http://lib.kru.ac.th/eBook/4000111/doc2-3.html

3.แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.แหล่งปฐมภูมิ เป็นแหล่งข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้รู้ ข้อมูลที่เราต้องการจะรู้โดยตรง
2.แหล่งทุติยภูมิ เป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้ก่อนแล้ว เช่น ข้อมูลจากหน่วยงาน ต่าง ๆ ข้อมูลจากผลการวิจัย

อ้างอิง http://www.senpong.ac.th/work/images_upload_answer/200691120241.doc

4.เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม
อ้างอิง http://www.trang.psu.ac.th/learning2teach/index.php?option=com_content&task=view&id=60&Itemid=34

5.สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในด้านต่างๆ เช่น
1. ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน
อ้างอิง http://tsl.tsu.ac.th/file.php/1/courseware/aa_2/lesson02/lesson2-1.htm